วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โปรเจสเตอโรน

  



ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ถูกสร้างโดยรังไข่ หลังจากนั้นก็เปลี่ยนมาสร้างโดยรกเมื่อรกเจริญเต็มที่แล้วค่ะ โดยจะทำงานร่วมกันกับเอสโตรเจน ซึ่งในการทำงานของฮอร์โมนก็มีทำงานกันแบบส่วนตัวบ้าง ทำงานร่วมกัน หรือประสานงานกันเป็นทีมบ้าง มีทั้งช่วยสนับสนุนส่งเสริมกัน หรือบางครั้งก็ไปยับยั้งฤทธิ์ของฮอร์โมนตัวอื่นเพื่อไม่ให้ออกฤทธิ์ในช่วง ที่ไม่จำเป็น

ผลที่เกิดจากการทำงานของโปรเจสเตอโรนคือ จะไปลดความตึงตัวของเนื้อเยื่อต่างๆ อย่างเช่นเอสโตรเจนจะไปทำให้มดลูกขยายและพร้อมจะมีการหดรัดตัว แต่โปรเจสเตอโรนจะไปยับยั้งอาการ ทำให้มดลูกยังไม่มีการหดรัดตัวมาก เพื่อให้ทารกมาฝังตัวที่มดลูกได้ ไม่แท้งออกไป แต่โปรเจสเตอโรนจะลดต่ำลงในช่วงใกล้คลอดเพื่อให้มดลูกสามารถหดรัดตัว และคลอดทารกน้อยออกมาได้นั่นเอง

โปรเจสเตอโรนยังทำงานร่วมกันกับเอสโตรเจนในการปรับเยื่อบุโพรงมดลูกให้เหมาะ สมแก่ การฝังตัวด้วย คือ ทำให้หนาขึ้น มีเส้นเลือดมาเลี้ยงดีขึ้น ฯลฯ และยังทำให้แม่ท้องมีการสะสมไขมันมากขึ้นสำหรับใช้เป็นพลังงาน เป็นแหล่งของสารอาหาร สำหรับการตั้งครรภ์และลูก และยังจับมือกับเอสโตรเจนเตรียมเต้านมให้พร้อมสำหรับการมีลูก ให้มีท่อน้ำนมมากขึ้น ขยายใหญ่ขึ้น ต่อมน้ำนมโตขึ้น มีเซลล์ที่สร้างน้ำนมเยอะขึ้น เป็นการเตรียมการผลิตให้พร้อม เพื่อที่หลังคลอดจะได้ใช้ได้ทันที

นอกจากนี้โปรเจสเตอโรนยังทำให้กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อยืดขยาย นี่แหละค่ะสาเหตุที่ทำให้เราปวดเมื่อยง่ายไม่ค่อยมีแรง
โปรเจสเตอโรนยังกระตุ้นให้ร่างกายปรับตัว หายใจเร็วขึ้น เพื่อเอาออกซิเจนเข้าสู่ปอดเยอะๆ มีการแลกเปลี่ยนบ่อยๆ เลยมีผลทำให้เหนื่อยง่าย และยังจะไปช่วยยับยั้งการสร้างน้ำนมของเต้านม ยังไม่ให้สร้างระหว่างท้องด้วยค่ะ
ในช่วงหลังคลอดฮอร์โมนทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะลดต่ำลง เพราะว่าฮอร์โมนทั้งคู่นี้สร้างจากรก หลังคลอดรกหลุดออกไป ฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้ก็เลยหายไปด้วยค่ะ และจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกรูปแบบหนึ่งในช่วงหลังคลอด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น